Baan Dek Foundation (BDF) is a non-profit, non-political and non-religious organization based in Bangkok & Chiang Mai. BDF supports access to essential services for more than 1,500 vulnerable children and their families living in construction sites and slums. Through specifically tailored educational programs and flexible individual support, Baan Dek Foundation protects endangered children, enables families to become self-sustainable and provides opportunities for a better future.1. การพัฒนาข้อมูลแผนที่แคมป์พักก่อสร้างด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) และ Map Visual
ผู้เชี่ยวชาญและทีมงานดำเนินการร่วมกับ มูลนิธิเครือข่ายพัฒนาบ้านเด็ก และกรุงเทพมหานคร เพื่อร่วมออกแบบแนวทางการพัฒนาฐานข้อมูลแคมป์พักในเขตกรุงเทพมหานคร ด้วยเครื่องมือ GIS
- จัดการประชุมคณะทำงานพัฒนาแคมป์พักในเขต กทม. ซึ่งประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญและทีมงาน คณะทำงานมูลนิธิเครือข่ายพัฒนาบ้านเด็ก และเจ้าหน้าที่จากกรุงเทพมหานครที่เกี่ยวข้อง ครั้งละไม่เกิน 15 คน โดยจัดประชุม 4 ครั้ง
- ทบทวนข้อมูลที่ตั้งแคมป์พักก่อสร้างที่มีอยู่ในฐานข้อมูลของ กทม. และฐานข้อมูลที่เกี่ยวข้องจากภาคีและภาคส่วนต่าง ๆ
- ออกแบบเครื่องมือในการเก็บข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน รวมถึงบริหารจัดการข้อมูล ร่วมกับคณะทำงาน ภาคีที่เกี่ยวข้อง ครอบคลุมการทำงานร่วมกับ 11 บริษัทเอกชน และ 16 แคมป์พักก่อสร้างที่เข้าร่วมโครงการ
2. การเชื่อมโยงระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์แคมป์พักก่อสร้างในกรุงเทพมหานครกับระบบสุขภาพเขตเมือง
- ประชุมคณะทำงานและดำเนินงานร่วมกับ กทม. เพื่อเชื่อมโยงระบบ Bangkok Health Map โดยใช้พื้นที่แคมป์ที่เข้าร่วมโครงการ 7 แคมป์พักก่อสร้างใน กทม. เพื่อนำร่อง
- วิเคราะห์การเชื่อมโยงระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ของแคมป์พักในเขต กทม. กับระบบบริการสุขภาพเขตเมือง นำร่อง 7 แคมป์พักใน กทม.
- พัฒนาต้นแบบ (prototype) ระบบแผนที่บริการสุขภาพเพื่อเชื่องโยงกับแคมป์พักก่อสร้าง
3. การศึกษาพัฒนาชุดความรู้การพัฒนาแคมป์พักสุขภาวะ กรณีการจัดการด้านโครงสร้างและสภาพแวดล้อม (Camp Safer by Design)
ภายใต้โครงการฯ มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาแคมป์พักสุขภาวะ (Construction Camp Well being) ในภาคการก่อสร้าง นอกจากจะต้องมีการพัฒนาแนวทางการดำเนินงานด้านการส่งเสริมสุขภาพ การเชื่อมระบบริการสุขภาพ และการโต้ตอบเฝ้าระวังโรคระบาดแล้ว การทำความเข้าใจด้านการจัดการด้านโครงสร้างและสภาพแวดล้อมในแคมป์พักก่อสร้างเป็นองค์ประกอบสำคัญที่จะทำให้เกิดพื้นที่สุขภาวะสำหรับแรงงานและเด็กที่อาศัยอยู่ในแคมป์พัก เช่น การมีพื้นที่ที่ปลอดภัยสำหรับเด็ก (Child Safe Space) หรือพื้นที่ที่เอื้อในการเสริมสร้างสุขภาวะทางใจให้กับแรงงาน เป็นต้น ดังนั้น การจัดการด้านโครงสร้างและสภาพแวดล้อมจะเป็นชุดความรู้และองค์ประกอบที่สำคัญ ที่นอกจากจะช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานแล้ว จะเป็นองค์ความรู้ในการบริหารจัดการแคมป์พัก ช่วยลดต้นทุนให้กับบริษัทสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีให้กับชุมชน และเป็นส่วนที่สำคัญของเมืองและชุมชนที่ยั่งยืน
- ทบทวนเอกสารและแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาแคมป์พักสุขภาวะ
- สำรวจและเก็บข้อมูลเชิงกายภาพและด้านสุขภาวะของแคมป์พัก จำนวนอย่างน้อยจาก 6 บริษัทเอกชน และ 12 แคมป์พัก ที่เข้าร่วมโครงการ แบ่งตามประเภทของการก่อสร้าง พื้นที่เขตกรุงเทพมหานคร และจังหวัดใกล้เคียง
- สัมภาษณ์ผู้บริหารและคณะทำงานจากบริษัททื่เข้าร่วมโครงการ จำนวนอย่างน้อย 6 บริษัท
- พัฒนา จัดทำคู่มือ พร้อมเอกสาร (หนังสือ) “ข้อเสนอแนะการจัดการด้านโครงสร้างและสภาพแวดล้อมสำหรับแคม์พักสุขภาวะ”
4. การประชุมเพื่อพัฒนาและติดตามการดำเนินงาน
ทีมที่ปรึกษาดำเนินงานร่วมกับเจ้าหน้าที่โครงการและคณะทำงานของมูลนิธิเครือข่ายพัฒนาบ้านเด็ก โดยมีการจัดทำแผนงานและสนับสนุนการดำเนินงานร่วมกันอย่างเป็นระบบ มีการจัดประชุมร่วมกันเดือนละ 1 ครั้ง (หรือตามความจำเป็น) จัดทำรายงานสรุปผลการประชุม โดยมีผู้จัดการโครงการเป็นผู้ประสานงานหลัก
ระยะเวลาและขอบเขตการทำงานขอบเขตระยะเวลาการดำเนินงาน 1 กุมภาพันธ์ - 30 พฤศจิกายน 2568 รวมระยะเวลา 10 เดือน (อาจมีการปรับช่วงเวลา โดยระยะเวลาทำงานไม่เกิน 10 เดือน)
การดำเนินการภายใต้โครงการ แผนงานตามขอบเขตการจ้างงาน จะเริ่มจากวันที่มีการลงนามในข้อตกลงสัญญาการดำเนินงานจนครบระยะเวลา 10 เดือน1. มีความรู้และความเชี่ยวชาญในด้านการพัฒนาข้อมูลสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ การออกแบบและวางผังเมือง
2. มีความเข้าใจและเชี่ยวชาญเรื่องการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ
วันปิดรับข้อเสนอวันอังคารที่ 21 มกราคม 2568 (อาจมีการขยายระยะเวลา)
ช่องทางการยื่นเอกสารโปรดส่งข้อเสนอโครงการ ประวัติการทำงาน (resume) ของผู้เชี่ยวชาญและทีมงาน โดยกด Apply for this job ที่ระบบ Personio ของมูลนิธิเครือข่ายพัฒนาบ้านเด็ก และแนบเอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องในช่อง Other และ CV
สอบถามเพิ่มเติมโปรดติดต่อ คุณชนันรัตน์ บุนนาค เจ้าหน้าที่ด้านการมีส่วนร่วมระหว่างองค์กร
[email protected]